วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โฆษณา ในนิตยสารลาว

          โฆษณาที่เผยแพร่ในสื่อนิยสารของประเทศลาว ส่วนใหญ่ที่เห็นจะเป็นโฆษณาที่ให้รายละเอียดของสินค้าและบริการเสียส่วนใหญ่ บอกความเป็นสินค้าอย่างตรงไปตรงมาโดยใช้ข้อความเป็นหลัก และมีรูปภาพประกอบ

          ตามที่ได้เห็นมา โฆษณาจะไม่เน้นไอเดียหรือความสวยงามเหมือนกับประเทศอื่นๆที่เน้นความสนใจไปที่ ไอเดียของชิ้นงาน ไม่เน้นข้อความมากเกินไป

          แต่ก็ไม่ใช่ทุกชิ้นงานเสมอไป เพราะโฆษณาบางชิ้นก็สื่อถึงไอเดียด้วย

          ไปชมโฆษณานิตยสาร บางส่วน กันเลยยย ยย...


นี่เป็น Ad แบบเต็มหน้า
















ส่วนนี่ก็เป็นแบบครึ่งหน้า หรือน้อยกว่านั้น ตามอัธยาศัย..







ส่วนนี่..โฆษณาในนิตยสาร ที่แทรกอยู่ตามหน้าเนื้อหา  ส่วนใหญ่จะอยู่ครึ่งล่างของหน้า






เชื่อว่าวงการโฆษณาของลาวยังต้องมีการพัฒนาอีกเยอะอย่างแน่นอน คอยดูกันต่อไป...







วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

AXE สร้างกลยุทธ์โฆษณา..ตีตลาดลาว

       
        
          แบรนด์จากฝั่งตะวันตก "AXE" ตีตลาดลาว จะยกโฆษณาสุดเร่าร้อนจากต้นตำรับมาทั้งดุ้นก็ไม่ได้

          คิดออก..ใช้วงดนตรีวัยรุ่นชื่อดังของลาวมีเป็นพรีเซนเตอร์ ออก single ประกอบโฆษณา จนดังฮิตติดชาร์ตไปทั่วบ้านทั่วเมือง ในคอนเซปต์ที่ว่า "มี AXE ไว้ใช้ ผู้สาว หุ่มตอม"





         

          และอีกครั้งที่สร้างความฮือฮา และความสนอกสนใจให้กับหนุ่มสาวชาวลาว ก็คือกิจกรรม "AXE Angle On Earth" ประกวดสาวสวยโดนใจ มาเป็นนางฟ้า Axe ในงานปาร์ตี้สุดเหวี่ยงที่ให้หนุ่มๆได้เข้าร่วมงาน 

          นางฟ้าฝั่งลาวทำเอาหนุ่มกระชุ่มกระชวนกันทั้งลาว ถือเป็นกิจกรรมที่ตอบโจทย์ Positioning ของ AXE ได้ดีทีเดียว ทั้งนี้ยังได้ศิลปินชื่อดังของลาวมาร้องเพลงให้อีกด้วย ยังไม่หลุดคอนเซปต์เดิมจริงๆ





MV เพลง "นางฟ้าเดินดิน" ที่นางฟ้า Axe ฝั่งลาวเล่น เพื่อใช้เป็นเพลงโปรโมทกิจกรรม ขับร้องโดย วง Cells ft. pull-t วงดนตรีชื่อดังของประเทศลาว











เบิ่งลาว...ตลาดดาวรุ่งของยูนิลีเวอร์


          จี.เอ็น มัคคุนดัน กรรมการผู้จัดการกลุ่มธุรกิจอินโดจีน บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด ให้ความรู้ที่น่าสนใจ พร้อมบอกเล่า Case Study ของยูนิลีเวอร์ในตลาดใหม่ สด ซิง ที่กำลังรุ่ง ด้วย GDP ที่คาดว่าจะเติบโตถึง 8% ในปีนี้ โดยระดมกำลังหลักเป็นทีมยูนิลีเวอร์ อินโดไชน่า (ที่ส่วนหนึ่งเป็นคนลาว) และ Distributor อีก 11 แห่งทั่วประเทศ

          แต่ทั้งนี้ “ความยาก” อยู่ที่ความท้าทายที่จะต้องฝ่าฟัน ทั้งกฎเหล็กของรัฐบาลลาว ข้อจำกัดด้านสื่อที่มีน้อย
โปรโมชั่นที่ไม่โดนใจ และความไม่สนใจและเพิกเฉยของผู้บริโภคได้มากน้อยเพียงใด

         - รัฐบาลลาว ห้าม Celebrity ต่างชาติ ปรากฏบนสื่อโฆษณาในประเทศ
         - สถานีโทรทัศน์มีเพียง 2 ช่อง คือ Lao National TV (TVNL) และ Laos Television 3 (Joint Venture     กับบริษัทของคนไทย)
         -การคมนาคมขนส่งไม่สะดวก
         -พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก เช่น นิยมบริโภคผงชูรสมาก และไม่นิยมใช้โรลออน เป็นต้น

          ผลงานปี 2549 ยูนิลีเวอร์ อินโดไชน่า มีรายได้ 1,900 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 5% จากรายได้ของยูนิลีเวอร์ในประเทศไทยซึ่งมีมูลค่ากว่า 38,000 ล้านบาท โดยบริษัทตั้งเป้ารายได้ 10% จากหน่วยธุรกิจนี้ ภายในปี 2553

Axe Story 
          เรื่องราวของ Case Study ที่หักปากกาเซียน ด้วย Key Strategy ง่ายๆ “Local Execution” เท่านั้นถึงจะรุ่งในตลาดนี้ เพราะ “หมู่เฮาบ่าวลาว บ่แม่นบ่าวหัวทอง” ดังนั้น TVC ที่เอามาจากเมืองนอกทั้งดุ้น จึงไม่โดนใจหนุ่มน้อยชาวลาว แม้แบรนด์จะเป็นที่รู้จัก แต่ยอดขาย Axe กลับไม่พุ่ง หนุ่มหน้ามนคนลาวยังคงนิยมใช้ก้อนสารส้มทาถู ทาถูใต้วงแขนอยู่เช่นเคย

“นายหินส้ม” เพลงจึงถือกำเนิดขึ้น โดยมี Over Dance วงดนตรีวัยรุ่นชื่อดังของลาวมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ โดยเนื้อเพลงกล่าวถึงหนุ่มลาวไร้สาวมาสนใจและไม่มีความมั่นใจในตัวเองเพราะใช้แต่สารส้ม จนกระทั่งเปลี่ยนมาใช้ Axe ตามคำเชิญชวนของวงดัง เขาก็เปลี่ยนลุคใหม่ไฉไลกว่าเดิม Theme Song ของ TVC ชุดนี้ ขึ้นแท่น No.1 hit ของสถานีวิทยุหลายแห่งในลาวเลยทีเดียว

          รวมถึงการใช้การสื่อสารแบบ 360 องศา ที่เป็นคีย์สำคัญที่ทำให้ Axe แจ้งเกิดในตลาดลาวได้ภาคภูมิ

นางงามลักส์ ...นางงามลาว 
          เป็นการ Changing Mindset ของผู้บริโภคลาว ย้อนหลังไป 3 ปี ทางการลาวไม่สนับสนุนให้มีการประกวดความงามเพราะไม่ใช่วัฒนธรรมลาว แต่ยูนิลีเวอร์ก็ใช้ความพยายามจนเป็นผลสำเร็จ คว้าลิขสิทธิ์การส่งสาวลาวเข้าประกวด Miss International ได้สำเร็จ เพื่อประชาสัมพันธ์ประเทศลาวให้เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ ด้วยเหตุผลนี้ทางการการลาวจึงอนุญาตให้จัดการประกวด Miss Lux ได้

          อย่างไรก็ตาม ลักส์ยังไม่หมดอุปสรรค เพราะแม้คนลาวจะรับสัญญาณโทรทัศน์จากเมืองไทยได้ แต่ข้อห้ามของทางการที่ไม่ยินยอมให้ดารา หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงต่างชาติ มาปรากฏบนบิลบอร์ดได้ ภาพบิลบอร์ดตามจุดสำคัญๆ ของหัวเมืองใหญ่ เช่น เวียงจันทน์ หลวงพระบาง สะหวันเขต และปากเซ เป็นต้น จึงปรากฏรูปของเธอในท่วงท่าที่ถอดแบบ มาช่า วัฒนพานิช ดาราลักส์ของเมืองไทยแทบไม่ผิดเพี้ยน รวมถึงเผยแพร่ตามแบนเนอร์ ปฏิทิน นอกจากนี้เธอยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนางงามการท่องเที่ยวลาวอีกด้วย

วอลล์...1 ปี ดีเกินคาด 
          เพียงแค่ 1 ปี แต่วอลล์กลับประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ ด้วยกิจกรรมที่แตกต่างแบบ “Big Exciting Event” ด้วยการออกงานสวนสนุกวอลล์ มีเครื่องเล่นและกิจกรรมบันเทิงต่างๆ มากมาย และผลก็เป็นที่น่าพอใจเมื่อมีคนร่วมงานถึง 12,000 คน และข้อมูลทางประชากรศาสตร์ที่กว่า 39% ของคนลาวอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นฐานผู้บริโภคอันเป็นโอกาสทางการตลาดอันหอมหวานของวอลล์

ซันซิล...ทวงบัลลังก์ 
          ใช้ Success Story จากเมืองไทย “ล้านตาดู ไม่เท่ามือคลำ” เพื่อทวงบัลลังก์แชมป์ในลาว หลังจากไม่มีกิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์กับผู้บริโภคมานาน สาวลาวปันใจให้กับแบรนด์อื่นมานานพอแล้ว แต่ผลจากการรีลอนซ์ ซันซิล ซูเปอร์ ซอฟท์ ด้วยอีเวนต์ดังกล่าวทำให้กว่า 50% ของสาวลาวมีซันซิลเป็น 1st Brand ในใจ ขณะที่ยอดขายเพิ่มขึ้น 12%

Viso...แบรนด์เวียดนามในลาว 
          ของถูกใครๆ ก็ชื่นชมนิยมชอบ Viso (วีโซ่) ก็เช่นเดียวกัน เป็นแบรนด์ผงซักฟอกของยูนิลีเวอร์ที่ถือกำเนิดในเวียดนาม แต่ถูกส่งเข้ามาต่อกรในตลาดผงซักฟอกระดับล่างของลาว โดยต่อสู้กับแบรนด์ท้องถิ่น “บอลิสุด”

          หลังจากหน้าแตกจากโปรโมชั่นเพิ่มปริมาณ 10% แต่จำหน่ายราคาเท่าเดิม ผู้บริโภคชาวลาวบอก “แล้วไง” Viso กลับมาชนะใจคนลาวด้วยการแนะนำ Size ใหม่ จากเดิม 450 กรัม 6,000 กีบ เป็น 400 กรัม 5,000 กีบ พบว่ายอดขายเพิ่มขึ้น 67% เพราะผู้บริโภคเห็นว่าราคาไม่แตกต่างจากบอลิสุดมากนัก

แทนที่ผงชูรสด้วยคนอร์ 
          โอกาสเติบโตของคนอร์ยังมี แม้ทั่วทั้งประเทศจะนิยมบริโภคผงชูรสชนิดที่เรียกว่า “มหาศาล” ก็ตาม
เพราะหนึ่งครัวเรือนบริโภคผงชูรสถึงครึ่งกิโลต่อเดือนเลยทีเดียว (ก็ไม่รู้ว่า เฝอลาวใส่ผักน้ำ เมนูเด็ดของหลวงพระบางที่อร่อยนักอร่อยหนานั้นจะเป็นเพราะผงชูรสด้วยหรือเปล่า) ส่วนผงหรือก้อนปรุงรสเขาจะใช้เฉพาะบางโอกาส ไม่ใช่ Daily Use และบางคนรู้จักแบรนด์คนอร์ แต่ไม่รู้ว่าใช้ทำอะไร

          ยูนิลีเวอร์ เลือกกลยุทธ์ Road Show สาธิตการปรุงอาหารจากคนอร์ ด้วยพ่อครัวหุ่นจ้ำม่ำเพื่อสื่อถึงความโอชะของจานเด็ดที่เกิดจากการปรุงด้วยคนอร์ พร้อมกับ Educate ผู้บริโภคชาวลาวว่าคนอร์ก้อนกับคนอร์ผงใช้ในการปรุงอาหารได้อย่างไร แน่นอนย่อมทำให้เกิด Brand Awareness เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมี Activation อื่นๆ เช่น การจัดงานเทศกาลอาหารครั้งแรกขึ้นที่ลาว เป็นต้น

ใกล้ชิด...เหนื่อยแต่เป็นที่ 1 
          ในไทยใกล้ชิดหรือ Close Up ไม่ได้เป็นผู้นำตลาด กิจกรรมและสื่อสนับสนุนได้รับการเทงบไม่มากเท่า Flagship Brand อื่นๆ ของยูนิลีเวอร์ ดังนั้นย่อมส่งผลต่อการทำงานของทีมยูนิลีเวอร์ อินโดไชน่าโดยปริยายที่จะต้องทำงานหนัก แต่การเลือกใช้ดนตรีโดยจัดประกวด Music Contest “เพิ่มความมั่นใจเมื่ออยู่ใกล้กัน” ก็สามารถเจาะกลุมเป้าหมายวัยรุ่นได้เป็นอย่างดี

U Bonus Club Program...CRM มัดใจคู่ค้า 
          ร้านรวงโชว์ห่วยที่หลวงพระบาง คล้ายคลึงกับบ้านเรา และนี่เป็นช่องทางการจัดจำหน่ายเพียงแห่งเดียวที่มี ไร้ซูเปอร์สโตร์ คอนวีเนียนสโตร์ ใดๆ

          ยูนิลีเวอร์จึงงัดโปรแกรมเด็ดมัดใจพาร์ตเนอร์เหล่านี้ด้วย U Bonus Club Program โดยคัดเลือกร้านที่เข้าตาจำนวน 1,000 ร้านจากทั้งหมด 25,000 ร้านในลาว โดยยูนิลีเวอร์จะช่วยเหลือในด้านของการจัดตกแต่งร้าน และการวางสินค้าของยูนิลีเวอร์ให้โดดเด่น ร้านที่เข้าร่วมจะได้รับการสะสมแต้มแลกของรางวัลต่างๆ

          “พฤติกรรมการซื้อของคนลาว ไม่นิยมซื้อของใช้จำนวนมากต่อครั้ง แต่จะนิยมซื้อบ่อยๆ ครั้ง ครั้งละชิ้นสองชิ้น ดังนั้นแชมพูชนิดซองจึงขายดีเป็นเทน้ำเทท่า...สินค้า Price Point ที่ 2 บาท หรือประมาณ 500 กีบ จึงเป็นที่นิยมมาก”

Lao PDR in fact 
          ประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
          เมืองหลวง เวียงจันทน์
          พื้นที่ 236,000 ตารางกิโลเมตร
          ประชากร 5,708,484 คน
          ครัวเรือน 959,595
          สัดส่วนประชากร ชาย:หญิง 50:50

Did you know?

- รายได้ต่อหัวประชากรลาวอยู่ที่ประมาณ 40 บาทต่อคนต่อวัน
-15% ของประชากรลาวใช้โรลออน
-การใช้สื่อโฆษณาในลาวนิยมใช้สปอตวิทยุซึ่งมีราคาถูกมาก 30 วินาทีเพียง 500 บาทเท่านั้น
- เพราะชื่อเต็มๆ ของประเทศลาว คือ Lao PDR หรือ Lao People’s Democratic Republic มีนักท่องเที่ยวเล่าต่อๆ กันมาด้วยอารมณ์ขันแกมหยอกล้อว่า PDR ย่อมาจาก Please Don’t Rush เพราะคนลาวมีอุปนิสัยเรียบง่ายและทำกิจวัตรไม่เร่งรีบ ตามสภาพสังคมและสภาพภูมิอากาศที่ไม่วุ่นวาย ไม่ร้อนรน
- นักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวประเทศลาวเฉลี่ยเพียงปีละ 800,000 คน แต่มีอัตราการเติบโตปีละ 9%


ส่วนแบ่งตลาดสินค้าของยูนิลีเวอร์ในลาว
    วอลล์ 90%
    แชมพู 60%
    ลักส์ 65%
    ผงซักฟอก 55%
    ใกล้ชิด 35%
    พอนด์ส 25%









Read more: http://www.positioningmag.com/magazine/printnews.aspx?id=57925#ixzz2L9W6Xj1A




วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

TVC ในประเทศลาว 1

โฆษณาร้านสะดวกซื้อ M Point Mart

โฆษณางานประกาศผลรางวัลประจำปี
โฆษณาธนาคารพงสะหวัน



โฆษณารณรงค์ประหยัดน้ำประปา

โฆษณาธนาคาร Lao Construction Bank



โฆษณาธนาคาร ST Bank


โฆษณา Lao Telecom




โฆษณาเบียร์ลาว












โฆษณาบริษัท Logistic





TVC ในประเทศลาว



โฆษณา Shukubutsu

โฆษณาแฟ้ม ตราช้าง


โฆษณา Lao Bank


โฆษณา Hiruscar
โฆษณา Lao Airline

โฆษณาเบียร์ลาว

โฆษณาการศึกษาประเทศลาว


โฆษณา Toyota 



โฆษณาเครือข่ายระบบ 3G ของบริษัท Unitel




โฆษณาเครือข่ายโทรศัพท์ของบริษัท Unitel


โฆษณาน้ำดื่ม Viva
























วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ASEAN +3 +6

ASEAN +3 +6 คืออะไร ?



         
          นอกจากประเทศอาเซียน 10 ประเทศที่ร่วมมือกันแล้ว ยังมีการร่วมมือกับประเทศอื่นๆที่มีความสัมพันธ์กันทางด้านเศรษฐกิจและการค้าอีกด้วย

          "อาเซียน +6" ก็คือ การรวมกลุ่มกันของ 16 ประเทศ ที่ประกอบไปด้วยกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม, พม่า, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, ลาว, สิงคโปร์, ไทย และเวียดนาม รวมกับประเทศที่อยู่นอกอาเซียนอีก 6 ประเทศ คือ
                    - จีน
                    - ญี่ปุ่น
                    - เกาหลีใต้
                    - ออสเตรเลีย
                    - นิวซีแลนด์
                    - อินเดีย 
          ซึ่งหากนับจำนวนประชากรในกลุ่มนี้แล้ว จะพบว่า อาเซียน +6 มีประชากรรวมกันกว่า 3 พันล้านคน หรือคิดเป็น 50% ของประชากรโลกเลยทีเดียว




          หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมอาเซียนต้องรวมกลุ่มกับอีก 6 ประเทศนอกอาเซียนด้วย คำตอบก็คือ การรวมกลุ่มอาเซียน +6 นี้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มในการลงทุน การทำการค้า ฯลฯ ให้มีศักยภาพสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ เช่น สหภาพยุโรป นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมทำข้อตกลงการเปิดการค้าเสรี ด้วยการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้น พร้อมกับผนวกกำลังของแต่ละกลุ่มการค้าเข้าด้วยกัน เพื่อให้กลุ่มประเทศอาเซียนสามารถดำเนินเศรษฐกิจได้อย่างมั่นคงยิ่งขึ้น

          ส่วน "อาเซียน +3" คือ การรวมกลุ่มของประเทศอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศนอกอาเซียน คือ

                    - จีน
                    - ญี่ปุ่น
                    - เกาหลีใต้


          ก่อนที่จะมาเป็นการรวมกลุ่มกับ 6 ประเทศนอกอาเซียน หรือ อาเซียน +6 ในที่สุด






สื่อกลางแจ้งในประเทศลาว







































วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประชาคมอาเซียน คือ อะไร ?

ASEAN : The Association of South East Asian Nations


          สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค.2510 หลังจากการลงนามในปฎิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration)
          โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ประกอบด้วย
1.นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย
2.ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย
3.นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์
4.นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์
5.พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากประเทศไทย
หลังจากจัดตั้ง ประชาคมอวเซียนเมื่อ 8 ส.ค.2510 แล้ว อาเซียนได้เปิดรับสมาชิกใหม่จากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเติมเป็นระยะ ตามลำดับได้แก่
-บรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 8 มกราคม 2527
-สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฏาคม 2538
-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540
-สหภาพพม่า เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฏาคม 2540
-ราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน 2542


คำขวัญของ ประเทศอาเซียน 

หนึ่งวิสัยทัศน์, หนึ่งเอกลักษณ์, หนึ่งประชาคม (One Vision, One Identity, One Community)

          นอกจากคำขวัญแล้ว ประเทศอาเซียน ยังมีเพลงประจำอาเซียน อีกด้วย ชื่อว่า “The ASEAN Way” เป็นผลงานจากประเทศไทยที่ชนะเลิศจากการแข่งขันระดับภูมิภาคอาเซียน บทประพันธ์โดยนายกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง) ได้เริ่มใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการครั้งแรกในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งประเทศ ที่นำชื่อเสียงมาให้ประเทศไทยเรา โดยมีเนื้อร้องทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย

เพลง "The ASEAN Way"















วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน

          ประชาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) มี 7 ประการ ดังนี้

   1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
   2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
   3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
   4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
   5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และ   ปรับปรุงมาตรฐาน         การดำรงชีวิต
   6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
   7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ










ประเทศลาว


ลาว (ລາວ)



สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
(ສາທາລະນະລັດປະຊາທິປະໄຕປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ສປປ.ລາວ)

        
                       เมืองหลวง         --->         นครเวียงจันทน์
                       ภาษาทางการ    --->         ภาษาลาว
                       สกุลเงิน             --->         กีบ     (1 บาท = 251.25 กีบ)
                       การปกครอง      --->          ระบอบประชาธิปไตย
                       เอกราช             --->          จากฝรั่งเศส
                       ประชากร           --->          กว่า 6,800,00 คน
                       พื้นที่                --->          236,880 ตารางกิโลเมตร มีแหล่งน้ำเป็น 2% ของประเทศ

          เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดต่อกับจีน ทางทิศเหนือ ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก กั้นด้วยแม่น้ำโขงเป็นบางช่วง



          ในภาษาอังกฤษ คำว่าลาว ที่หมายถึงประเทศสะกดว่า "Laos" และ ลาวที่หมายถึงคนลาว และภาษาลาวใช้ "Lao" ในบางครั้งจะเห็นมีการใช้คำว่า "Laotian" แทนเนื่องจากป้องกันการสับสนกับเชื้อชาติลาว ที่สะกดว่า Ethnic Lao ในชื่อเต็มจะใช้ว่า (The Lao People’s Democratic Republic) หรือในภาษาไทย (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)



ตราแผ่นดินของประเทศลาว



คำขวัญ

ສັນຕິພາບ ເອກະລາດ ປະຊາທິປະໄຕ ເອກະພາບ ວັດຖະນາຖາວອນ
("สันติภาพ เอกราช ประชาธิปไตย เอกภาพ วัฒนาถาวร")

     
          "แม่น้ำโขง" แม่น้ำซึ่งเป็นสายหัวใจหลักของประเทศ ซึ่งไหลผ่านประเทศลาวเป็นระยะทาง 1,835 กิโลเมตร แม่น้ำสายนี้เป็นแม่น้ำสำคัญทั้งในด้านเกษตรกรรม การประมง การผลิตพลังงานไฟฟ้า การคมนาคมจากลาวเหนือไปจนถึงลาวใต้ และการใช้เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศลาวกับประเทศเพื่อนบ้าน



ลักษณะอากาศ
          
สปป. ลาวอยู่ในภูมิอากาศเขตร้อน มีลมมรสุมแต่ไม่มีลมพายุ สำหรับเขตภูเขาภาคเหนือ และ เขตเทือกเขา อากาศมีลักษณะกึ่งร้อนกึ่งหนาว อุณหภูมิสะสมเฉลี่ยประจำปีสูงถึง 15-30 องศาเซลเซียส และความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนมีประมาณ 10 องศาเซลเซียส


การปกครองระบอบประชาธิปไตย 

สภาพการปกครอง และการบริหารด้านเศรษฐกิจของลาวเริ่มผ่อนคลายมากขึ้นในระยะหลังของทศวรรษ 1980 เนื่องจากการปฏิวัติการเมืองของเจ้าสุภานุวงศ์ 


เจ้าสุภานุวงศ์
   
   ต่อมาเมื่อเจ้าสุภานุวงศ์สละตำแหน่งจากประธาน ผู้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อจากเจ้าสุภานุวงศ์คือ ท่านไกสอน พมวิหาน และเมื่อท่านไกสอนถึงแก่กรรมกะทันหัน ท่าน หนูฮัก พูมสะหวัน ก็ได้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อมา ยุคนี้ลาวกับไทยเปิดสะพานมิตรภาพ ไทย - ลาว ในปี พ.ศ. 2538
                                                   
                   
     หนูฮัก พูมสะพวัน                                                          ไกสอน พมวิหาน 
 
          ต่อมาท่านหนูฮักสละตำแหน่ง ท่านคำไต สีพันดอนรับดำรงตำแหน่งประธานประเทศต่อ จนถึงปี พ.ศ. 2549 ท่านคำไตลงจากตำแหน่ง ท่านจูมมะลี ไซยะสอน จึงเป็นผู้รับตำแหน่งประธานประเทศลาวคนปัจจุบัน


                     
       คำไต สีพันดอน                                                        พลโทจูมมะลี ไซยะสอน


สะพานมิตรภาพไทย-ลาว